วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ภาษาญี่ปุ่น 日本語, นิฮงโงะ

ภาษาญี่ปุ่น (日本語, นิฮงโงะ ฟังเสียง ) เป็นภาษาราชการ ของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผู้ใช้ทั่วโลกราว 130 ล้านคน นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว รัฐอังกาอูร์ สาธารณรัฐปาเลา ได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาราชการภาษาหนึ่ง นอกจากนี้ภาษาญี่ปุ่นยังถูกใช้ในหมู่ชาวญี่ปุ่นที่ย้ายไปอยู่นอกประเทศ นักวิจัยญี่ปุ่น และนักธุรกิจต่าง ๆ

คำภาษาญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากภาษาต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาษาจีน ที่ได้นำมาเผยแพร่มาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อกว่า 1,500 ปีที่แล้ว และตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ก็ได้มีการยืมคำจากภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาจีนมาใช้อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เช่นคำที่มาจากภาษาดัตช์ ビール (bier แปลว่า เบียร์) และ コーヒー (koffie แปลว่า กาแฟ)

สถานะทางภูมิศาสตร์
ปัจจุบันภายในประเทศนอกจากจะมีการพูดภาษาญี่ปุ่นกันเป็นหลักอยู่แล้ว ก็ยังมีปรากฏอยู่บ้างภายนอกประเทศ อาทิเช่นจีนแผ่นดินใหญ่ คาบสมุทรเกาหลี และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกก็มีการใช้ภาษาญี่ปุ่นด้วย อันเป็นผลมาจากการที่ทางรัฐบาลญี่ปุ่น บังคับสอนภาษาญี่ปุ่นให้แก่พวกเขาในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากนี้แล้ว ยังมีผู้อพยพและลูกหลานของชาวญี่ปุ่น ซึ่งได้อพยพไปสู่ทวีปอเมริกา เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา ฮาวาย เปรู อาร์เจนตินา บราซิล ชิลี หลังสงครามอีกจำนวนหนึ่งที่ยังคงสามารถพูดภาษาญี่ปุ่นได้อยู่ ถึงแม้ว่าลูกหลานของพวกเขาจะไม่สามารถพูดภาษาญี่ปุ่นได้ก็ตาม

สถานะทางราชการ
ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาราชการของประเทศด้วยความนิยม ซึ่งเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาราชการเต็มตัว (ไม่มีการใช้ภาษาต่างประเทศในวงราชการ) ภาษาญี่ปุ่นมีแบบภาษาที่เรียกกันว่ามาตรฐาน 2 แบบ คือ เฮียวจุงโงะ (標準語, hyōjungo?, ภาษามาตรฐาน) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันโทรทัศน์ และ เคียวซือโงะ (共通語, kyōtsūgo? ภาษาร่วม) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันอย่างไม่เป็นทางการ

สำเนียงท้องถิ่น
ภาษาญี่ปุ่นมีสำเนียงท้องถิ่นมากมายดั่งเช่นประเทศอื่นๆในโลก โดยสามารถแบ่งออกเป็นใหญ่ๆได้ 3 ประเภท คือ

แบบโตเกียว หรือ โตเกียวชิกิ (東京式) สำเนียงทางการ ซึ่งพูดกันในฝั่งตะวันออก หรือ ฮิงาชินิฮ่ง (東日本) ของญี่ปุ่น
แบบเคฮัง หรือ เคฮังชิกิ (京阪式) ซึ่งพูดกันในฝั่งตะวันตก หรือ นิชินิฮ่ง (西日本) และ
แบบคิวชู ซึ่งบางครั้งจะยุบรวมกับแบบเคฮัง เนื่องจากเป็นเป็นส่วนหนึ่งของนิชินิฮ่ง
ในปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นไม่จัดว่าสำเนียงแบบโตเกียวเป็นสำเนียงกลาง อย่างเป็นทางการ เนื่องจากนโยบายของประเทศที่ว่าต้องการอนุรักษ์สำเนียงต่างๆไว้ เช่น การผสมผสานสำเนียงภาษาของแต่ละท้องถิ่นเข้าไปในสื่อและรายการโทรทัศน์ของ ญี่ปุ่น ดังนี้ จึงทำให้คนญี่ปุ่น เมื่อเดินทางไปยังถิ่นภูมิภาคอื่น ก็ยังคงพูดภาษาของถิ่นตนเองดังเดิม โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นพูดภาษากลาง

เหล่านี้สามารถเห็นได้ชัดในนักแสดงชาวภูมิภาคคันไซญี่ปุ่น ซึ่งส่วนมากเป็นนักแสดงตลก เมื่อเดินทางไปทำงานที่โตเกียว พวกเขาก็ยังคงพูดภาษาถิ่นคันไซของพวกเขาอยู่ดั่งเดิม โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง จึงให้เกิดรสนิยมที่ว่าดาราตลกญี่ปุ่นต้องพูดภาษาคันไซ สาเหตุที่ทำให้เกิดสิ่งเช่นนี้ก็น่าจะมาจากการออกเสียงของสำเนียงคันไซ ซึ่งฟังดูไม่ลื่นไม่ไพเราะเหมือนถิ่นอื่น กลับกันถ้า นักแสดงละคร หรือดารานักร้อง พวกเขาจะไม่นิยมคนที่พูดสำเนียงคันไซเลย

สำเนียงญี่ปุ่นสามารถแบ่งออกได้เป็นดังนี้
ญี่ปุ่นตะวันออก
สำเนียงฮอกไกโด
สำเนียงโทโฮะกุ หรือ สำเนียงภาคอีสานของญี่ปุน (ได้รับอิทธิพลทั้งแบบตะวันตกและแบบตะวันออก)
สำเนียงคันโต
สำเนียงโทไกโทซัง หรือ สำเนียงนิชิคันโต (คันโตตะวันตก)
สำเนียงฮัจจิโจว

ญี่ปุ่นตะวันตก
สำเนียงโฮะกุริกุ
สำเนียงโทไกโทซัง
สำเนียงคิงกิ หรือ สำเนียงคันไซ (สำเนียงที่นิยมกันในหมู่ดาราตลกญี่ปุ่น)
สำเนียงจูโงะกุ
สำเนียงอุงบะกุ
สำเนียงชิโกะกุ
สำเนียงคิวชู หรือ สำเนียงแบบคิวชู

ตัวอักษร
เราจำแนกตัวอักษรญี่ปุ่นออกเป็นสองจำพวก คือ กลุ่มตัวอักษรที่ใช้แทนเสียง ซี่งได้แก่ ฮิระงะนะ และ คะตะคะนะกับ กลุ่มตัวอักษรที่แสดงความหมาย ที่เรียกว่า คันจิ โดยใช้ร่วมกับตัวเลขอารบิก และตัวอักษรโรมัน ซึ่งจะมีความหลากหลายมากกว่าภาษาที่ใช้ในประเทศใกล้เคียง เช่น ภาษาจีนซึ่งใช้ตัวอักษรจีน เป็นหลัก ส่วนภาษาเกาหลีก็จะใช้อักษรฮันกึลเป็นหลัก

เนื่องจากตัวคันจิซึ่งญี่ปุ่นรับมาจากภาษาจีนมีจำนวนมาก บางครั้งมีการใช้ตัวอักษรที่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบ กระทรวงศึกษาธิการของรัฐบาลจึงได้กำหนดมาตรฐานของตัวคันจิ ซึ่งเรียกว่า โจโยคันจิ ประกอบด้วยตัวอักษร 1,945 ตัว เป็นตัวคันจิที่คนญี่ปุ่นทั่วไปทราบกันดี โดยไม่จำเป็นต้องเขียนคำอ่านกำกับ

โครงสร้างประโยคพื้นฐาน
ลำดับของคำในประโยคภาษาญี่ปุ่นคือ ประธาน กรรม และกริยา โดยประธาน กรรม และส่วนอื่นๆในประโยคจะมี"คำช่วย"กำกับอยู่เพื่อบ่งบอกหน้าที่ของคำที่นำ หน้า

โครงสร้างประโยคพื้นฐานในภาษาญี่ปุ่นประกอบด้วย หัวเรื่อง และส่วนอธิบาย ตัวอย่างเช่น Kochira-wa Tanaka-san desu (こちらは田中さんです) kochira แปลว่า "นี้" เป็นหัวเรื่องของประโยคเพราะมี wa กำกับอยู่ ส่วน Tanaka-san desu เป็นส่วนอธิบายของประโยค desu เป็นกริยาของประโยคที่แปลได้ว่า"เป็น" ประโยคนี้แปลคร่าวๆได้ว่า "สำหรับคนนี้ เขาคือคุณทานากะ" ภาษาญี่ปุ่นมีความคล้ายกับภาษาในเอเชียหลายๆภาษาที่มักจะระบุหัวเรื่องของ ประโยคแยกจากประธาน กล่าวคือหัวเรื่องของประโยคไม่จำเป็นต้องเป็นประธานของประโยค ตัวอย่างเช่น Zō-wa hana-ga nagai desu (象は鼻が長いです) แปลตามตัวได้ว่า "สำหรับช้าง จมูก(ของพวกมัน)ยาว" หัวเรื่องของประโยคคือ zō (ช้าง) ในขณะที่ประธานของประโยคคือ hana (จมูก)

ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่ชอบละคำ กล่าวคือ มักจะมีการละประธานหรือกรรมของประโยคที่เป็นที่รู้กันกันอยู่แล้ว นอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นยังรู้สึกว่าประโยคที่สั้นๆดีกว่าประโยคยาวๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ภาษาพูด ดังนั้นชาวญี่ปุ่นจึงมักจะละคำต่างๆในประโยคมากกว่าจะอ้างถึงมันด้วยคำ สรรพนาม ตัวอย่างเช่น จากประโยคข้างบน hana-ga nagai ก็แปลได้ว่า "จมูก[ของช้าง]ยาว" โดยที่ไม่ต้องระบุหัวเรื่องของประโยคหากเป็นที่เข้าใจตรงกันว่ากำลังกล่าว ถึงช้าง นอกจากนี้ กริยาเพียงตัวเดียวก็ถือว่าเป็นประโยคที่สมบูรณ์ได้ เช่น Yatta! แปลว่า "[ฉัน]ทำ[มันสำเร็จแล้ว]" คำคุณศัพท์เพียงตัวเดียวก็ถือว่าเป็นประโยคที่สมบูรณ์ได้เช่นกัน เช่น Urayamashii! แปลว่า "[ฉันรู้สึก]อิจฉา[มัน]"

แม้ว่าภาษาญี่ปุ่นจะมีคำบางคำที่ถือได้ว่าเป็นคำสรรพนาม แต่คนญี่ปุ่นก็ไม่ใช้คำสรรพนามบ่อยเท่ากับภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน ในทางกลับกัน คนญี่ปุ่นมักจะใช้กริยาพิเศษหรือกริยาช่วยเพื่อบ่งบอกทิศทางของการกระทำ เช่น "ล่าง"เพื่อบ่งบอกว่าการกระทำนี้เป็นการกระทำจากนอกกลุ่มที่เป็นผลประโยชน์ ต่อในกลุ่ม และใช้คำว่า"บน"เพื่อบ่งบอกว่าเป็นการกระทำจากภายในกลุ่มที่เป็นประโยชน์ต่อ นอกกลุ่ม ตัวอย่างเช่น oshiete moratta แปลว่า "[เขา/พวกเขา]อธิบายให้[ฉัน/พวกเรา]" ขณะที่ oshiete ageta แปลว่า "[ฉัน/พวกเรา]อธิบายให้[เขา/พวกเขา]" การใช้กริยาช่วยในลักษณะนี้ทำให้รู้ผู้กระทำและผู้ถูกกระทำได้เหมือนกับการ ใช้คำสรรพนามและคำบุพบทในภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน

คำสรรพนามในภาษาญี่ปุ่นมีลักษณะคล้ายคลึงกับคำนาม กล่าวคือ เราสามารถใช้คำขยายมาขยายคำสรรพนามได้ ซึ่งแตกต่างจากคำสรรพนามในภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนที่ไม่สามารถกระทำได้ เช่น

The amazed he ran down the street. (เขาที่กำลังงงวิ่งไปตามถนน)
ประโยคข้างบนนี้ไม่ต้องถูกตามหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ แต่ถือว่าถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น

Odoroita kare-wa michi-o hashitte itta.
สาเหตุที่คำสรรพนามในภาษาญี่ปุ่นคล้ายคลึงกับคำนาม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคำสรรพนามบางคำมีต้นกำเนิดมาจากคำนาม เช่น kimi ที่แปลว่า "คุณ" แต่เดิมแปลว่า "เจ้านาย" และ boku ที่แปลว่า "ผม" แต่เดิมแปลว่า "ข้ารับใช้" ดังนั้น นักภาษาศาสตร์บางคนจึงไม่จัดว่าคำสรรพนามในภาษาญี่ปุ่นเป็นคำสรรพนามที่แท้ จริง แต่เป็นคำนามที่ใช้อ้างอิง คนญี่ปุ่นจะใช้คำเรียกตัวเองในกรณีที่ต้องบอกว่าใครกำลังทำอะไรให้ใครเท่า นั้น

คำสรรพนามที่ใช้เรียกตัวเองขึ้นอยู่กับเพศของผู้พูดและสถานการณ์ในขณะ นั้น ในสถานการณ์ที่เป็นทางการ ผู้หญิงและผู้ชายสามารถใช้ watashi หรือ watakushi ได้ ส่วนในสถานการณ์ที่เป็นกันเอง ผู้ชายมักเรียกตัวเองว่า ore คำสรรพนามที่ใช้เรียกผู้ฟังนั้นขึ้นอยู่กับสถานภาพทางสังคมและความคุ้นเคย ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง คำบางคำอาจเป็นคำที่สุภาพในสถานการณ์หนึ่ง แต่อาจไม่สุภาพในอีกสถานการณ์หนึ่งก็ได้

ชาวญี่ปุ่นมักเรียกบุคคลด้วยตำแหน่งหน้าที่แทนการใช้สรรพนาม ตัวอย่าง เช่น นักเรียนเรียกอาจารย์ว่า sensei (先生, อาจารย์) ไม่ใช่ anata ซึ่งถือว่าไม่เหมาะสมเพราะคำว่า anata ใช้เรียกบุคคลที่มีสถานภาพเท่ากันหรือต่ำกว่าเท่านั้น

ชาวต่างชาติที่พูดภาษาญี่ปุุ่นมักขึ้นต้นประโยคด้วยคำว่า watashi-wa แม้ว่าประโยคนี้จะถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ แต่ก็ฟังดูแปลกมากสำหรับชาวญี่ปุ่น เปรียบเทียบเหมือนกับการใช้คำนามซ้ำๆในภาษาไทย เช่น "สมชายกำลังมา กรุณาทำข้าวผัดให้สมชายเพราะสมชายชอบข้าวผัด ฉันว่าหวังสมชายจะชอบชุดที่ฉันใส่อยู่ ..."

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น