วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เยอรมัน Deutsch ดอยทช์

ภาษาเยอรมัน (เยอรมัน: Deutsch ดอยทช์ ฟังเสียง , อังกฤษ: German) เป็นภาษากลุ่มเจอร์เมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาหนึ่งที่มีคนพูดมาก เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซาซและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส

นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู

ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป

หลักทั่วไป

1. สระ ให้ถอดตามการออกเสียงในพจนานุกรมภาษาเยอรมัน โดยเทียบเสียงสระภาษาไทยตามตารางเทียบเสียงสระภาษาเยอรมัน เช่น

Vater = ฟาเทอร์
Berg = แบร์ก
2. พยัญชนะ ให้ถอดเป็นพยัญชนะไทยตามหลักเกณฑ์ในตารางเทียบเสียงพยัญชนะภาษาเยอรมัน เช่น

Karl = คาร์ล
Boot = โบท
3. สระที่ซ้อน 2 ตัว หรือสระที่มี h ตาม จะมีเสียงยาว เช่น

Haar = ฮาร์
Tee = เท
Lohn = โลน
Stuhl = ชตูล
4. สระที่ตามด้วยพยัญชนะซ้อน เป็นเสียงสั้น เช่น

Mann = มันน์
Mutter = มุทเทอร์
5. สระ e เมื่ออยู่ท้ายคำ ถอดเป็นเสียง เออ เช่น

Rose = โรเซอ
6. ตัวอักษรภาษาเยอรมันในการเขียนตัวย่อ ใช้ดังนี้

A = อา B = เบ C = เซ
D = เด E = เอ F = เอฟ
G = เก H = ฮา I = อี
J = ยอท K = คา L = เอล
M = เอ็ม N = เอ็น O = โอ
P = เพ Q = คู R = แอร์
S = เอส T = เท U = อู
V = เฟา W = เว X = อิกซ์
Y = อึบซิลอน Z = เซท

7. หลักเกณฑ์อื่น ๆ เช่น การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต ไม้ไต่คู้ เครื่องหมายวรรณยุกต์ ให้ถือตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น